BATCHING SYSTEMS
เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการความซับซ้อนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตแบบแบตซ์ ให้มีความยืดหยุ่น และลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตให้ลดลง โดยการกำหนดเป็นส่วนต่างๆตั้งแต่ ระบบจัดการ วัตถุดิบ เข้าสู่ระบบ จนถึง เสร็จสิ้นกระบวนการผลิต ซึ่งทาง บริษัท เอ็กเซลเลนซ์เทคคอนโทรล จำกัด ได้ทำการออกแบบระบบต่างๆ บนพื้นฐานของมาตรฐาน ISA-88

ถ้าคุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้

  • กระบวนการผลิตมีความซับซ้อนสูง ทำให้ต้องใช้ความชำนาญในการจัดการ พนักงานเกิดความสับสน
  • เติมวัตถุดิบ ไม่ตรงตามชนิดและปริมาณที่สูตรกำหนดไว้
  • มีวัตถุดิบหลายตัวที่ต้องการชั่งน้ำหนัก แล้วพนักงานทำการชั่งผิด
  • ไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับของกระบวนการผลิตได้ ว่า วัตถุดิบ Lot ไหนนำไปใช้กับ Batch ไหนบ้าง
  • ใช้แรงงานคนในการผลิตมากเกินความจำเป็น ทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูง

Batching Systems สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เพียงแค่ทำทุกอย่างให้มันเป็นระบบ

โดยสามารถแบ่งได้เป็น 6 ระบบได้ดังนี้

  1. Unloading Systems เป็นระบบที่จัดการ นำวัตถุดิบ เข้าสู่ระบบ ตั้งแต่รับวัตถุดิบจาก Supplier ไปจนถึงสถานที่จัดเก็บ
  2. Recipe Management Systems เป็นระบบการจัดการสูตรต่างๆที่ใช้ในการผลิต ว่าสินค้าที่จะผลิตในแต่ละตัวจำเป็นจะต้องมีวัตถุดิบอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่
  3. Pre-weight Systems เป็นระบบการชั่งสาร หรือ วัตถุดิบ ที่จำเป็นในการผลิตทั้งหมด ก่อนที่จะนำไป เติมลงในถังผสม
  4. Auto Load systems เป็นระบบเติมวัตถุดิบอัตโนมัติ ตามสูตรที่ระบุไว้ในขั้นตอนก่อนเริ่มการผลิต
  5. Mixing Systems เป็นระบบควบคุมการผลิตแบบอัตโนมัติ เช่น การควบคุมเวลาในการกวน การควบคุมความเร็วของใบกวน การควบคุมอุณหภูมิของการผลิต และการควบคุมอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการผลิตของแต่ละกระบวนการผลิต
  6. Traceability Systems เป็นระบบที่ใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับของกระบวนการผลิตว่า วัตถุดิบ Lot ไหน นำไปใช้กับ Batch ไหน กระบวนการผลิตมีขั้นตอนการผลิตอย่างไรบ้าง ค่าพารามิเตอร์ที่ควบคุมเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่

UNLOADING SYSTEMS

เป็นเป็นระบบที่จัดการ นำวัตถุดิบ เข้าสู่ระบบ ตั้งแต่รับ วัตถุดิบจาก Supplier ไปจนถึงสถานที่จัดเก็บ มีทั้งระบบบันทึกลงระบบแบบ Manual และ ระบบ Loading จาก Tanker แบบอัตโนมัติ โดยเก็บข้อมูลหลักๆที่จำเป็นได้ดังนี้ ( ในส่วนนี้สามารถปรับได้ตามการใช้งาน )

  1. Date and Time
  2. PO No.
  3. Delivery No.
  4. Quantity
  5. Location
  6. Manufacturing date and expire date
  7. Material information

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บเข้าไปยังฐานข้อมูลของระบบแล้วออกเป็น Barcode เพื่อเป็น Material Identify สำหรับนำไปใช้ในระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบ Pre-weight systems เป็นต้น

RECIPE MANAGEMENT SYSTEMS
เป็นเป็นระบบที่จัดการเกี่ยวกับสูตรต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตว่าผลิตภัณฑ์จะทำการผลิต จะต้องใช้ส่วนผสมอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ซึ่งสามารถ คำนวณได้ไม่ว่าจะเป็นอัตราส่วนตาม ขนาดของ Batch ที่จะทำการผลิต หรือ สามารถคำนวนตามความเข้มข้นที่ต้องการตามสูตรการผลิตของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม

ประโยชน์จากการใช้ระบบ Recipe Management Systems คือ 

  • ลดความผิดพลาดในการเลือกใช้ส่วนผสมต่างๆ
  • สามารถตรวจสอบย้อนกลับของกระบวนการผลิตได้ ว่า วัตถุดิบ Lot ไหนนำไปใช้กับ Batch ไหนบ้าง
  • สูตรการผลิตทั้งหมดเป็นส่วนกลาง ไม่ว่าส่วนไหนก็สามารถตรวจเช็คและตรวจสอบได้แต่จะแก้ไขได้เฉพาะหน่วยงานที่รับผิดชอบเฉพาะเรื่องสูตรที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น
  • ลดความสับสนของสูตรที่ใช้ในการผลิตของพนักงาน

ซึ่งข้อมูลที่เราทำการ สร้าง Batch ที่ใช้ในการผลิตจะถูกไว้ที่ฐานข้อมูลของส่วนกลางทำให้สามารถทำไปใช้ร่วมกันกับ Pre-weight systems เพื่อชั่งน้ำหนักตามส่วนผสมที่ต้องการ

PRE-WEIGHT SYSTEMS
เป็นระบบที่ใช้สำหรับการชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากส่วนที่เติมแบบอัตโนมัติลงในถังผสม เช่น ชั่งน้ำหนักของสารเคมี หรือ สีต่างๆ ที่มีจำนวนไม่เยอะ หรือ เป็นสารเคมี/ส่วนผสมที่ไม่สามารถเติมแบบอัตโนมัติได้ จำเป็นที่จะต้องใช้พนักงานเงินไปเติมเท่านั้น ซึ่งในระบบนี้ก็จะทำการ แสดงรายการของส่วนผสมพร้อมจำนวนที่ต้องชั่งน้ำหนักผลจอแสดงผล ให้ชั่งน้ำหนักให้ตรงตามค่าที่กำหนด

ประโยชน์จากการใช้ระบบ Pre-weight systems คือ 

  • ลดความผิดพลาดในชั่งส่วนผสมต่างๆให้ตรงตามค่าที่กำหนด ถ้าน้ำหนักไม่ตรงตามค่าที่กำหนด ระบบจะไม่อนุญาตให้กดยอมรับ ทำให้ไม่มี Barcode ไปยืนยันการเติมที่กระบวนการ Mixing
  • สามารถตรวจสอบย้อนกลับของกระบวนการผลิตได้ ว่า วัตถุดิบ Lot ไหนนำไปใช้กับ Batch ไหนบ้าง

ข้อมูลที่ชั่งน้ำหนักจะถูกบันทึกลงในฐานข้อมูลส่วนกลางของ Batch Systems ทำให้สามารถทำไปใช้ร่วมกันกับ  Mixing Systems ได้ ในขั้นตอนการเติมสารลงถังผสมเพื่อยืนยันว่า พนักงาน เติมวัตถุดิบ ได้ตรงตามชนิดและปริมาณที่สูตรกำหนดไว้

AUTO LOAD SYSTEMS
เป็นระบบเติม วัตถุดิบ แบบอัตโนมัติ ตามสูตรและขั้นตอนตามสูตรที่ใช้ในการผลิต อย่างแม่นยำ ไม่มีการเติมสารเคมีข้ามขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้ใน Batch Systems ซึ่งในระบบการควบคุมการเติมวัตถุดิบ แบบอัตโนมัตินี้ จะถูกควบคุมการเปิด ปิด ของ วาว์ล  มอเตอร์  ปั๊ม หรือ สกรูสำหรับถ่ายโอน ด้วย PLC และตัว PLC เองก็จะรับค่าจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัด เพื่อประมวลผลในการ เปิดปิด อุปกรณ์ให้ได้ค่าน้ำหนักตามที่ต้องการ ซึ่งตัวอย่าง Sensor ที่ใช้ในการอ่านค่าน้ำหนักของวัตถุดิบที่นิยมใช้กันก็คือ

  • Level Transmitter เป็นการวัดระดับของวัตถุดิบที่อยู่ในถังผสม
  • Pressure Transmitter วัดค่าความดันที่อยู่ภายในของถังผสม แล้วแปลงเป็นสัญญาณเป็นน้ำหนักของวัตถุดิบที่อยู่ในถังนั้น
  • Mass flow Meter วัดปริมาณการไหลของ วัตถุดิบ ที่เข้าสู่ถังผสมโดยต้องทำการกำหนดขนาดท่อ และชนิดของวัตถุดิบเพื่อที่จะคำนวน ออกมาเป็นน้ำหนักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • Load Cell ติดตั้งที่ขาของถังผสมเพื่ออ่านค่าน้ำหนักของวัตถุที่อยู่ภายในถังแต่จะนิยมติดตั้งที่ถังพักวัตถุดิบด้วยเพื่อความแม่นยำในการวัดค่าน้ำหนัก ซึ่งการใช้ Load Cell ถือเป็นอุปกรณ์ที่ในแต่ละกระบวนการผลิตเลือกใช้มากที่สุด

ประโยชน์จากการใช้ระบบ Auto Load Systems คือ 

  • ลดความผิดพลาดในการเติมส่วนผสมต่างๆตามสูตรและขั้นตอนที่ใช้ในการผลิต
  • สามารถตรวจสอบย้อนกลับของกระบวนการผลิตได้ ว่า วัตถุดิบ Lot ไหนนำไปใช้กับ Batch ไหนบ้าง
  • ลดแรงงานคนที่ใช้ในผลิต ทำให้มีต้นทุนในการผลิตลดลง เพิ่มกำไรให้กับองค์กร
  • สามารถจัดการควบคุมการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย Software มาตรฐานระดับโลก
  • เพิ่มประสิทธิผลทางการผลิต (Productivity) และลดเวลาในการผลิต (Production Time) ได้อย่างมาก

MIXING SYSTEMS

เป็นระบบควบคุมการผลิตแบบอัตโนมัติ เช่น การควบคุมเวลาในการกวน การควบคุมความเร็วของใบกวน การควบคุมอุณหภูมิของการผลิต และการควบคุมอื่นๆ ในแต่ละขั้นตอนของการผลิตตามสูตรที่กำหนดไว้ใน Batch Systems ซึ่งขึ้นอยู่กับการ ผลิตของแต่ละกระบวนการผลิต


ประโยชน์จากการใช้ระบบ Mixing Systems

  • เพิ่มประสิทธิผลทางการผลิต (Productivity) และลดเวลาในการผลิต (Production Time) ได้อย่างมาก
  • ลดแรงงานคนลดของเสีย และลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในกระบวนผลิต
  • มี Report สามารถดูข้อมูลการใช้วัถตุดิบย้อนหลังได้

TRACEABILITY SYSTEMS

เป็นระบบที่ใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับของกระบวนการผลิตว่า วัตถุดิบ Lot ไหน นำไปใช้กับ Batch ไหน กระบวนการผลิตมีขั้นตอนการผลิตอย่างไรบ้าง ค่าพารามิเตอร์ ที่ควบคุมเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ซึ่งจะออกมาในรูปแบบของ Batch Report หรือ Barcode/RFID Systems ขึ้นอยู่ที่รูปแบบการใช้งาน


ประโยชน์จากการใช้ระบบ Traceability Systems

  • มีระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับแผนกจัดการระบบคุณภาพการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม
  • สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของ Operator ที่ทำการควบคุมการผลิตย้อนหลังได้

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้